โรคซึมเศร้า สมุนไพร 4 ชนิดนี้ช่วยได้
สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า สมุนไพรไทยดีๆ ใกล้ตัว
โรคซึมเศร้า นับเป็นโรคที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร่งด่วน เพราะปล่อยทิ้งไว้อาจจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตจนนำไปสู่การตัดสินใจจบชีวิตเหมือนที่หลายๆ ท่านได้รับรู้จากทางสื่อต่างๆ โรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีแผนปัจจุบัน
“โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่เกิดจากการเสียสมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและมีการติดตามโรคอย่างต่อเนื่อง รักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด“
นอกจากยาแผนปัจจุบันแล้ว เราพบว่ายังมีสมุนไพรบางชนิดที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าหรือช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นห้ามละเลยการพบแพทย์โดยเด็ดขาด
- โดยสมุนไพรต้านอาการซึมเศร้าเหล่านี้ เป็นเพียงตัวช่วยเสริมและบรรเทาอาการเท่านั้น ห้ามหยุดยาแผนปัจจุบันที่แพทย์สั่งเด็ดขาด เพื่อป้องกันอาการกำเริบที่รุนแรงได้
โดย ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ ได้แนะนำ สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า 4 ชนิด ที่สามารถบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้ โดยสมุนไพรต้านโรคซึมเศร้าดังกล่าว เป็นสมุนไพรไทยที่หาได้ง่าย มีราคาไม่แพงอีกด้วย
.
4 สมุนไพรต้านโรคซึมเศร้า สมุนไพรไทยดีๆ ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศแนะนำ
.

1.ขมิ้นชัน มีการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้ขมิ้นชันสกัด 500 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า – เย็น กับยาต้านโรคซึมเศร้าชื่อ ฟลูออกซีทีน (Fluoxetine 20mg.) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าขมิ้นชันให้ผลในการบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้อย่างน่าพอใจ โดยมีเปอร์เซ็นต์การตอบสนองต่อขมิ้นชัน 62.5% และฟลูออกซีทีน 64.7% และเมื่อให้ร่วมกันทั้งสองอยู่ที่ 77.8%
.

2.บัวบก เป็นสมุนไพรไทยที่มีการนำมาใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งในศาสตร์อายุรเวทและแพทย์แผนจีน บัวบกมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ โดยบัวบกสามารถใช้ในการบรรอาการของโรควิตกกังวลได้ จากการศึกษาโดยใช้บัวบก 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือนพบว่าเห็นผลดีขึ้น และเริ่มเห็นผลชัดเจนในเดือนที่ 2 โดยบัวบกสามารถช่วยลดความกังวล ความเครียดและช่วยลดอารมณ์ซึมเศร้าได้
เราสามารถคั้นน้ำจากบัวบกสดที่ล้างสะอาด รับประทานวันละ 1-2 ช้อนชา หรือใช้บัวบกแห้งครั้งละ 1-2 ช้อนชา (5-10 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 150 cc. รอจนอุ่น แล้วดื่มวันละ 2-3 เวลา ในส่วนกรณีของบัวบกแคปซูล ให้รับประทานวันละ 2-3 แคปซูล ควรรับประทานอย่างน้อย 2 เดือน
ข้อควรระวังของบัวบก เนื่องจากบัวบกเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป ในกรณีที่รับประทานเป็นใบสด ควรรับประทานวันละ 3-6 ใบ คนที่ไม่ร่างกายอ่อนแอมากไม่ควรกิน ถ้ามีอาการเวียนหัว ใจสั่น ให้หยุดทันที คนที่ม้ามเย็นพร่อง มีอาการท้องอืดแน่นเป็นประจำไม่ควรกิน หลีกเลี่ยงการรับประทานในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนจะมีลูก หญิงให้นมบุตร
.

3.น้ำมันรำข้าวและจมูกน้ำมันรำข้าว มีสาร GABA (Gamma-aminobutyric acid) ช่วยผ่อนคลายระบบประสาท คลายความกังวล ทำให้นอนหลับ นอกจากนี้ยังพบสาร N-Acetylserotonin ซึ่งเป็นสารที่พบในน้ำมันรำข้าว เป็นสารตั้งต้นอีกชนิดที่ช่วยในการสร้างสารซีโรโทนิน ช่วยควบคุมวงจรของการนอนหลับให้เป็นปกติ ช่วยลดความเครียด ความกังวล ต้านการซึมเศร้า ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบและปกป้องสมองอีกด้วย
.

4.ฟักทอง โดยสามารถช่วยเรื่องซึมเศร้าได้ จากการศึกษาพฤติกรรมของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะแสดงพฤติกรรมลอยตัวนิ่งเสมือนว่าอยากตาย แต่พอให้ฟักทองอบและสารเบต้าแคโรทีน พบว่าระยะเวลาในการลอยตัวนิ่งลดน้อยลง และยังตรวจพบอีกว่ายังมีผลทำให้เพิ่มสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Serotonin) และ นอร์อีพิเนพริน (NE) (โดยในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้า สารสื่อประสารททั้งสองนี้จะลดลง) นอกจากนี้ฟักทองยังช่วยลดการอักเสบในสมองได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
.
บทความที่น่าสนใจ
- โรคซึมเศร้า สมุนไพร 4 ชนิดนี้ช่วยได้
- 10 อาหารบำรุงสมอง ฟื้นฟูความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์
- ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันรำข้าว 9 ประการ
- น้ำมันปลา ประโยชน์และสรรพคุณที่คุณไม่ควรมองข้าม
- 6 วิตามินบำรุงสมอง ฟื้นฟูความจำ ช่วยผ่อนคลาย ชะลอการเกิดอัลไซเมอร์ พาร์คินสัน
อ้างอิง
ภญ. อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
4 สุดยอดคุณประโยชน์จากสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract)
10 เคล็ดลับวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
5 สมุนไพร ทานแล้วช่วยให้นอนหลับง่ายง่ายขึ้น
มะเร็งกลัวมาก 10 สารอาหารต้านมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทาน เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว