ลูทีน (Lutein) สารอาหารบำรุงสายตา ชะลอจอประสาทตาเสื่อม
ลูทีน (Lutein) สารอาหารบำรุงสายตา ชะลอจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น
ถ้าพูดถึงเรื่อง สารอาหารบำรุงดวงตา แน่นอนว่า ลูทีน (lutein) ต้องเป็นสารอาหารบำรุงสายตาตัวแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงนอกเหนือจากวิตามินเอ ลูทีน เป็นสารอาหารบำรุงดวงตาที่มีศึกษาวิจัยมากที่สุด สามารถชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้จริง มีความปลอดภัยสูง และช่วยปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้าได้ดีกว่าสารอาหารชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ลูทีน (lutein) เป็นสารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (non-provitamin A carotenoids) หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นกลุ่มแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง มีคุณสมบัติละลายในไขมัน ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างลูทีนได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น โดยในธรรมชาติมักจะพบลูทีนและซีแซนอยู่ด้วยกันเสมอ
ลูทีน พบมากในผักสีเขียว โดยเฉพาะคะน้าและปวยเล้ง จะพบลูทีนและซีแซนมากเป็นพิเศษ โดยในน้ำหนัก 100 กรัม จะพบลูทีนสูงถึง 4.8 – 13.4 มิลลิกรัม และ 6.5 – 13.0 มิลลิกรัม ตามลำดับ และพบได้เล็กน้อยใน ผักกาดแก้ว บร๊อคโคลี่ ผักโขม ข้าวโพดเหลือง ถั่วลันเตา แขนงกะหล่ำ ไข่แดง เมล่อน ในปริมาณไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม
ในร่างกายของคนเราจะพบลูทีนเป็นองค์ประกอบมากที่สุดใน “ดวงตา” ในบริเวณที่เรียกว่า เซลล์รับภาพของจอประสาทตา ที่เรียกว่า แมคูลา (macula) ซึ่งมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระได้ดีมาก ช่วยป้องกันจอประสาทตาถูกทำลายจากอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ช่วยลดการอักเสบและช่วยชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์จอประสาทตาได้
นอกจากลูทีนจะพบมากในดวงตาของคนเราแล้ว ยังพบได้ในสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นถึงร้อยละ 66 จึงเชื่อว่าลูทีนมีส่วนช่วยในการรับภาพและส่งต่อไปยังสมองได้ดีขึ้นอีกด้วย
- จากการศึกษาพบว่า การที่มีระดับของลูทีนและซีแซนทีนในดวงตาต่ำจะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) และโรคต้อกระจกได้มากถึง 57% เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูง
Low levels of lutein and zeaxanthin in the eyes are associated with age-related macular degeneration (AMD) and cataracts, while higher blood levels of these carotenoids are linked to an up to 57% reduced risk of AMD (Keyvan Koushan, et al.2013)
อีกคุณสมบัติหนึ่งที่น่าสนใจของลูทีน คือ ช่วยกรองแสงสีฟ้าและดูดซับแสงสีฟ้าส่วนเกินที่อาจจะทำร้ายเซลล์ดวงตา โดยแสงสีฟ้าคือ หนึ่งในช่วงของแสงที่ดวงตามองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร เป็นแสงที่มีพลังการทำลายสูง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะดวงตา
- มีการศึกษาพบว่าลูทีนสามารถกรองแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40% ก่อนที่แสงจะตกถึงแมคคูลา (เซลล์จอประสาทตา) ดังนั้นจึงสามารถลดสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ลดการอักเสบและช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
กลไกของลูทีนที่คาดว่าน่าจะช่วยปกป้องดวงจากจากโรคจอประสาทตาเสื่อม
- ลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (ต้านอนุมูลอิสระ) บริเวณจอประสาทตา
- ช่วยกรองแสงสีฟ้าซึ่งเป็นแสงที่มีพลังงานสูงและเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา
จากการศึกษาพบว่า ลูทีนและซีแซนทีน อาจจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพดวงตา ได้หลายอย่างดังนี้
- ช่วยชะลอและยับยั้งการเสื่อมของจอประสาทตา
- ช่วยปกป้องจอประสาทตาจากแสงสีฟ้า (จากจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเลคทรอนิกส์ต่างๆ)
- ช่วยชะลอและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก (Cataracts)
- ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (Diabetic retinopathy)
- จอประสาทตาลอก (Eye detachment)
- ภาวะม่านตาอักเสบ หรือ ยูเวียอักเสบ (uveitis)
ซึ่งให้ผลทั้งการรับประทานในรูปแบบของอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องดวงตา ควรรับประทานลูทีน ควบคู่กับสารสกัดจากบิลเบอร์รี่
นอกจากจะเด่นในเรื่องสุขภาพดวงตาแล้ว ลูทีนและซีแซนทีนยังมีประโยชน์ต่อระบบระหัวใจและหลอดเลือดด้วย โดยพบว่า
- “การมีระดับลูทีนในร่างกายสูง จะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวน้อยกว่า (atherosclerosis) และยังเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในอนาคตได้”
อีกคุณประโยชน์ของลูทีน ที่พึ่งค้นพบคือ บำรุงผิว โดยลูทีนสามารถปกป้องผิวจากรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดได้ ช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้น ปรับสภาพของโทนสีผิวหรือเฉดสีผิวดีขึ้น (skin tone) และลดความช่วยลดการอักเสบของผิวได้
ปริมาณของลูทีนที่ควรได้รับต่อวัน (Dietary Recommended Intake (DRI)) ยังไม่มีการกำหนด แต่ขนาดที่มีการศึกษา คือ ลูทีน 2.5 – 30 มิลลิกรัม ต่อวัน และ ซีแซนทีน 0.4 – 2 มิลลิกรัม ต่อวัน
แต่มีการศึกษาพบว่าขนาดที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก (cataract) และโรคจอประสาทตาเสื่อม(age-related macular degeneration: AMD) ได้คือ ≥6 มก./วัน
อาการข้างเคียงของลูทีน จากการศึกษาและติดตามผลการใช้ลูทีน พบว่าลูทีนมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต พบว่ามีอาการข้างเคียงเล็กน้อยเช่น มีผิวเหลือง แต่ก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไรและก็จะหายไปเมื่อหยุดรับประทาน
ข้อควรระวัง เด็กและสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูทีนในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรเลือกรับประทานลูทีนในรูปแบบอาหารธรรมชาติจะปลอดภัยกว่า เช่น ผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คะน้า ปวยเล้ง ผักกาดแก้ว บร๊อคโคลี่ ผักโขม ข้าวโพดเหลือง ถั่วลันเตา แขนงกะหล่ำ ไข่แดง เมลอน
.
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ลูทีน (Lutein) สารอาหารบำรุงสายตา ชะลอจอประสาทตาเสื่อม
- ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันรำข้าว 9 ประการ
- เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่ สมุนไพรจีน ประโยชน์และสรรพคุณ 12 ข้อ สุดยอดยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย
- ฟักข้าว (Gac fruit) ผลไม้ที่มีไลโคปีน (Lycopene) สูงที่สุดในโลก สูงกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า
- 10 เหตุผล ทำไมจึงควรรับประทานอาหารเสริมวิตามินบำรุงสายตา เป็นประจำทุกวัน
อ้างอิง
1.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/189/ชะลอจอประสาทตาเสื่อมต้องกินอะไร
2.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ : สาร “ลูทีน” กับจอประสาทตา : หมอชาวบ้าน
3.Dwyer JH, Navab M, Dwyer KM. Oxygenated carotenoid lutein and progression of early ATS: the Los Angeles atherosclerosis study. Circulation. 2001;103:2922–7.
4.Gao S, Qin T, Liu Z, Caceres MA, Ronchi CF, Chen CYO, et al. Lutein and zeaxanthin supplementation reduces H2O2-induced oxidative damage in human lens epithelial cells. Mol Vis. 2011;17:3180–90.
4 สุดยอดคุณประโยชน์จากสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract)
10 เคล็ดลับวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
5 สมุนไพร ทานแล้วช่วยให้นอนหลับง่ายง่ายขึ้น
มะเร็งกลัวมาก 10 สารอาหารต้านมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทาน เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว