พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้าน ลดน้ำตาล ต่อต้านมะเร็ง
พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย ลดน้ำตาล ต่อต้านมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทาน
ผักพลูคาว (Plu Kaow) หรือ ผักคาวตอง เป็นผักพื้นบ้านและเป็นสมุนไพรที่รู้จักกันดีในแถบภาคเหนือ โดยในภาคเหนือส่วนใหญ่จะเรียกว่า ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง แต่ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ มุกดาหาร จะเรียก คาวทอง จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะเรียก ผักก้านตอง ผักคาวปลา, ส่วนภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า “พลูคาว“
.
พลูคาว เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “พลู” แต่มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษคือ “มีกลิ่นคาวปลา” ดังนั้นจึงเรียกว่า “พลูคาว”
.

พลูคาวเป็นผักพื้นบ้าน มักขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก เป็นสมุนไพรตระกูลเดียวกับพลู เป็นพืชล้มลุก เป็นผักฤทธิ์เย็น มีกลิ่นคาวคล้ายเนื้อสัตว์ เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ลำต้น ราก นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยนำมารับประทานเป็นผักเครื่องเคียง รับประทานร่วมกับอาหารจำพวกลาบ ก้อย เมนูเนื้อสัตว์ต่างๆ
พลูคาวเป็นผักที่ปู่ย่าตายายของคนพื้นบ้านทั้งทางภาคเหนือและภาคอีสานบอกกับลูกหลานว่าให้กินผักคาวตองเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย ผิวพรรณจะสวยงาม และไม่ใช่เฉพาะคนบ้านเราเท่านั้นที่กินพลูคาวเป็นผัก ในอินเดียและประเทศในภูมิภาคอินโดจีนที่มีพลูคาวเหมือนๆ กับเราต่างก็กินพลูคาวเป็นผักเช่นกัน โดยกินเป็นผักสดหรือใช้ต้มกับปลาหรือไข่เป็ดดับกลิ่นคาว
.
นอกจากจะใช้รับประทานเป็นอาหารแล้ว หมอพื้นบ้านในแถบภาคเหนือใช้พลูคาวเป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ หลายโรค ดังนี้
- แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลแห้ง
- รักษาแผลสด แผลเปื่อย แผลอักเสบ ทำให้แผลหายเร็ว
- ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- ใช้แก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย
- ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
- รักษาปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการไอ
- รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
- รักษาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- ไตอักเสบบวมน้ำ
- ลำไส้อักเสบ
- เต้านมอักเสบ
- หูชั้นกลางอักเสบ
- แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้บิด
- แก้ริดสีดวงทวาร
- แก้กามโรค หนองใน
- ใช้รักษาแผลสด แผลเปื่อย ฝี หนอง ทำให้น้ำเหลืองแห้ง
- แก้มะเร็ง รักษาการอักเสบของร่างกาย
- แก้คุดทะราด โรคเรื้อน และโรคที่เกิดตามผิวหนัง
- ใช้รักษาโรคผิวหนัง อาการผื่นคัน
- แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
.
- “อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากตำราหมอพื้นบ้าน และยังไม่มีการศึกษาวิจัยในคน ทำให้ผลที่ได้และการตอบสนองในแต่ละคนอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง แต่ก็อาจจะพิจารณาใช้เป็นการรักษาทางเลือกได้ ในกรณีที่รักษาโรคด้วยแผนปัจจุบันไม่ได้ผลแล้ว “
.
ปัจจุบันพบว่า พลูคาวเป็นสมุนไพรที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับพลูคาวเพิ่มมากขึ้น พบว่าพลูคาวมีฤทธิ์ทางยาที่น่าสนใจ ดังนี้
- ยับเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด เช่น เซลล์มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด แมคโครฟาจ (macrophage)
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้าง prostaglandin ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบในร่างกาย
- ต้านเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ ไวรัสเริม ไวรัสเอชไอวี
- มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Sarcina ureae
- มีฤทธิ์ต้านการแพ้ ยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการเกิดภูมิแพ้
- มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
(แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาในคน การนำพลูคาวไปใช้เพื่อรักษาโรคควรศึกษาหาข้อมูลให้ครบถ้วน จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ)
.
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น แห้ง 15-30 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม ก่อนต้มให้แช่น้ำไว้สัก 1-3 นาที ต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที (ถ้าใช้ร่วมกับยาอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยานี้ต้มให้เดือด ดื่ม)
ใช้สด ตำคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้างหรือตำพอก
ข้อควรระวัง
- การรับประทานมากเกินไป จะทำให้อาเจียนได้ หรือถ้านำมาใช้ภายนอกในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ทำให้เป็นแผลพองได้
- การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีภาวะเย็นเกิน เช่น หนาวง่าย แขนขาเย็น ปวดท้อง ท้องร่วง
- ในกรณีที่เป็นพลูคาวในรูปแบบแคปซูลสกัด ควรหลีกเลี่ยงในเด็ก สตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
.
บทความที่น่าสนใจ
- พลูคาว สมุนไพรพื้นบ้าน ลดน้ำตาล ต่อต้านมะเร็ง
- สมุนไพรลดความดัน สมุนไพรไทยใกล้ตัว หาง่าย ได้ผลดี
- กัญชา ยาดีที่ถูกลืม ใช้เป็นเห็นผล มีสรรพคุณทางยาสูง แต่ผลข้างเคียงก็เยอะ
- เพิ่มภูมิคุ้มกันด้วย เห็ดทางการแพทย์ (Medicinal mushrooms)
- กระเทียม ยาดีคู่ครัวไทย ห่างไกลโรคหัวใจ ไขมัน ความดัน เบาหวาน
อ้างอิง
1.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
4 สุดยอดคุณประโยชน์จากสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape seed extract)
10 เคล็ดลับวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
5 สมุนไพร ทานแล้วช่วยให้นอนหลับง่ายง่ายขึ้น
มะเร็งกลัวมาก 10 สารอาหารต้านมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทาน เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาว